ตำนานเทพเจ้ากรีก
เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ,
ธรรมชาติของโลก
และจุดกำเนิดและความสำคัญของวิถีปฏิบัติและพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่กล่าวถึงเรื่องปรัมปราและศึกษาในความพยายามที่จะอธิบายสถาบันทางศาสนาและการเมืองในกรีซโบราณ อารยธรรม และเพิ่มความเข้าใจของธรรมชาติในการสร้างตำนานขึ้น
เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธร
รมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน
ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลกและรายละเอียดของชีวิต
รวมทั้งการผจญภัยของบรรดาเทพ เทพี วีรบุรุษ วีรสตรี
และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ
ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ได้สืบทอดโดยบทกวีจากปากต่อปากเท่านั้น ในปัจจุบัน
ตำนานกรีกได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวรรณกรรมกรีกเป็นส่วนใหญ่
วรรณกรรมกรีกที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกันคือ มหากาพย์ อีเลียด และ โอดิสซีย์ ของโฮเมอร์ ซึ่งจับเรื่องราวเหตุการณ์ในระหว่างสงครามเมืองทรอย นอกจากนี้มีบทกวีมหากาพย์ร่วมสมัยอีกสองชุดของเฮสิโอด คือ Theogony และ Works and Days
เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดโลก การสืบทอดของจอมเทพผู้ศักดิ์สิทธิ์
ยุคของมนุษย์ กำเนิดศัตรูของมนุษย์ และพิธีบูชายัญต่างๆ
เรื่องเล่าปรัมปรายังพบได้ในบทเพลงสวดสรรเสริญของโฮเมอร์
จากเสี้ยวส่วนหนึ่งของบทกวีมหากาพย์ Epic Cycle จากบทเพลง จากงานเขียนโศกนาฏกรรมในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล จากงานเขียนของปราชญ์และกวีในยุคเฮเลนนิสติก และในตำราจากยุคของจักรวรรดิโรมันที่เขียนโดยพลูตาร์คกับเพาซานิอัส
งานค้นพบของนักโบราณคดีเป็นแหล่งข้อมูลอย่างละเอียดของเทพปกรณัมกรีก
เพราะมีภาพของเทพและวีรบุรุษกรีกมากมายเป็นเนื้อหาหลักอยู่ในการตกแต่งสิ่ง
ของเครื่องใช้ต่างๆ ภาพเรขาคณิตบนเครื่องโถในยุคศตวรรษที่ 8
ก่อนคริสตกาลแสดงให้เห็นฉากต่างๆ ในมหากาพย์เมืองทรอย รวมไปถึงการผจญภัยของเฮราคลีส ในยุคต่อๆ มาเช่น ยุคอาร์เคอิก ยุคคลาสสิก และยุคเฮเลนนิสติก ก็พบภาพฉากเกี่ยวกับมหากาพย์ของโฮเมอร์และตำนานปรัมปราอื่นๆ ซึ่งช่วยเพิ่มเติมแก่หลักฐานทางวรรณกรรมที่มีอยู่
เทพปกรณัมกรีกมีอิทธิพลอย่างมากต่อวัฒนธรรม ศิลปะ และวรรณกรรมของอารยธรรมตะวันตก
รวมถึงมรดกและภาษาทางตะวันตกด้วย
กวีและศิลปินมากมายนับแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบันได้รับแรงบันดาลใจจากเทพ
ปกรณัมกรีก
และได้คิดค้นนัยยะร่วมสมัยกับการตีความใหม่ที่สัมพันธ์กับตำนานปรัมปราเหล่า
นี้
1.เทพซูส
ทรงเป็นพระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์ผู้ปกครองเทพเจ้าโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก
ซูสเป็นบุตรของโครนัสและเรีย และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในประเพณีส่วนมาก พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที
โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม
ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย
รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส
กำเนิดของซูส
ตำนานการถือกำเนิดของซูสมีว่า ไกอา มารดาแห่งผืนดิน ได้สมรสกับเทพยูเรนัสเทพแห่งท้องฟ้า และมีบุตรกลุ่มแรกคือ เหล่าเทพไททันซึ่ง
สร้างความภาคภูมิแก่เทพยูเรนัสมาก
แต่ทว่าบุตรต่อๆมาของเทพีไกอากลับอัปลักษณ์และน่ากลัว เช่น
ยักษ์ไซคลอปส์ที่มีตาข้างเดียวกลางใบหน้า และอสุรกายน่าเกลียดต่างๆ
ทำให้เทพยูเรนัสพิโรธโยนบุตรเหล่านั้นลงไปขังในคุกทาร์ทะรัสใต้พิภพ
เทพีไกอาแค้นเทพยูเรนัสมากจึงยุยงให้เหล่าเทพไททันก่อกบฏ
ไม่มีเทพองค์ใดที่กล้าชิงบัลลังก์พระบิดายกเว้นเทพโครนัส
และจากการช่วยเหลือจากเทพีไกอาทำให้เทพโครนัสชิงอำนาจได้สำเร็จ
ทว่าเทพโครนัสไม่ได้ทำตามสัญญาที่จะปลดปล่อยอสูรผู้เป็นน้อง
เทพีไกอาจึงสาปแช่งว่าบุตรที่จะเกิดมาของโครนัสจะชิงอำนาจไปเหมือนกับที่เคย
ทำไว้กับบิดา
เทพโครนัสตระหนักมากเพราะหลังจากนั้นไม่นาน เทพีรีอา พระชายาก็ตั้งครรภ์
เมื่อได้ข่าวการประสูติ
เทพโครนัสจึงบุกเข้าไปในตำหนักพระชายาและจับทารกผู้เป็นสายเลือดของตนกลืนลง
ท้องไป และครรภ์ต่อๆมาของเทพีรีอาก็เช่นกัน
ส่งผลให้เทพีรีอาเศร้าเสียใจอย่างมาก
โครนัสให้กำเนิดบุตรและธิดารวมหกองค์ คือ เฮสเทีย เฮดีส ดีมิเตอร์
โพไซดอน เฮรา ซูส
ซึ่งพอกำเนิดมาได้ถูกโครนัสจับกลืนลงท้องไปแต่เนื่องด้วยซูสหนีออกมาได้
จึงรอให้ตัวเองโตแล้วกลับมาช่วยอีก 5 องค์ในภายหลัง เนื่องจาก เฮสเทีย
เฮดีส ดีมิเตอร์ โพไซดอน และเฮรา เป็นเทพจึงไม่ตายตอนอยู่ในท้องของโครนัส
การโค่นอำนาจไททันโครนอส
ความคับแค้นใจทำให้เทพีรีอาตัดสินใจเก็บบุตรคนสุดท้องเอาไว้
โดยแสร้งส่งก้อนหินห่อผ้าให้เทพโครนัสไป
ทารกซูสถูกเลี้ยงดูอย่างดีโดยเทพีไกอาผู้เป็นย่าได้นำทารกซูสไปซ่อนไว้ในหุบ
เขาดิกเทอ ในเกาะครีต ซูสกินอาหารคือน้ำผึ้งและน้ำนมจากนิมฟ์ครึ่งแพะที่ชื่อว่า อะมาลไธอา ซึ่งในภายหลังซูสได้ได้สร้างนางให้เป็นกลุ่มดาวแพะ หรือกลุ่มดาวมกรในจักรราศีและมีครึ่งเทพครึ่งแพะแห่งป่าที่เล่นฟลุทอยู่ตลอดเวลาชื่อแพนเป็นผู้ให้การศึกษา เมื่อซูสเติบใหญ่แข็งแรงจึงหวนกลับไปแก้แค้นโครนอสผู้เป็นเทพบิดาตามคำร้องขอของเทพีมารดา
รีอาได้หลอกให้โครนอสกินยาที่จะทำให้สำรอกบุตรที่เคยกลืนออกมา
ด้วยความเป็นเทพเจ้าทำให้เหล่าเทพที่ถูกกลืนลงไปไม่ตายซ้ำยังเติบโตขึ้น
เรียงลำดับได้ดังนี้
1.เทพีเฮสเตีย เทพีแห่งไฟและเทพีผู้คุ้มครองครอบครัว เป็นเทพีครองพรหมจรรย์
2.เทพี ดิมีเตอร์ เทพีแห่งพันธุ์พืช ธัญญาหารและการเพาะปลูก มีธิดากับเทพซูสหนึ่งองค์คือ เทพีเพอร์ซิโฟเน หรือ โพรเซอพิน่าผู้เป็นชายาของฮาเดส
3.เทพี ฮีรา เทพีแห่งการสมรส เป็นมเหสีของเทพซูส ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องหึงหวง มีโอรสและธิดากับเทพซูส 3 องค์คือ เฮฟเฟสตุส ฮีบีกับ อาเรส
4.เทพเฮดีส เจ้าแห่งโลกบาดาล ปกครองยมโลก มีเทพีเพอร์เซฟะนีเป็นมเหสี
5.เทพโพไซดอน เจ้าแห่งท้องทะเล ปกครองน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียนและน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้ มีเทพีแอมฟิไทรท์ หรือ อัมฟิตรีติ เป็นมเหสี
เมื่อเทพทั้งห้าได้ออกมาจากท้องของโครนัสแล้วจึงร่วมกับซูสปราบโครนัสและส่งโครนัสไปขังไว้ที่ทาร์ทะรัส
ซูสได้รับตำแหน่งเทพผู้นำของเหล่าเทพ
เนื่องจากการจับฉลากแบ่งหน้าที่ของทั้งสามพี่น้อง
และได้พาเหล่าเทพทั้งหลายขึ้นไปอาศัยอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัส
แม้ว่าเหล่าเทพทุกองค์จะยอมยกตำแหน่งผู้นำให้กับซูสในทีแรก
แต่ในตอนหลังเหล่าเทพต่างๆก็ต่างพากันหาหนทางในการยึดอำนาจมาเป็นของตน
เองอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฮราผู้
เป็นชายาของซูส ได้พยายามที่จะรวบรวมเหล่าเทพเพื่อก่อการกบฏอยู่เสมอ
แต่ในท้ายที่สุดซูสก็สามารถที่แก้ไขปัญหา และจับตัวนางมาลงโทษได้อยู่เสมอ
วิมาน | ยอดเขาโอลิมปัส | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
สัญลักษณ์ | สายฟ้า นกอินทรี กระทิงและโอ๊ก | ||||||
คู่ครอง | ฮีรา ฯลฯ | ||||||
บิดามารดา | โครนัสและเรีย | ||||||
ญาติ | เฮสเตีย เฮดีส ฮีรา โพไซดอน ดีมิเทอร์ | ||||||
บุตร | แอรีส อะธีนา อะพอลโล อาร์ทิมิส แอโฟรไดที ไดอะไนซัส ฮีบี เฮอร์มีส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย ฮิฟีสตัส เพอร์ซิอัส ไมนอส มิวส์ คาริทีส | ||||||
เทียบเท่าในโรมัน | จูปิเตอร์ |
2.เทพจ้าโพไซดอน
เป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก
พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า
"สมุทรเทพ" นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า "ผู้เขย่าโลก"
(Earth-Shaker) เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ "ผู้กำราบม้า" (tamer of horses)พระองค์มักทรงถูกพรรณาเป็นบุรุษสูงวัย มีพระเกษาหยิกและพระมัสสุ (หนวด)
แผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บีแสดง
ว่า
ที่ไพลอสและธีบส์กรีซยุคสำริดก่อนมีเทพเจ้าโอลิมปัสมีการบูชาโพไซดอนเป็นพระ
เจ้าหลัก
แต่ภายหลังมีการรวมพระองค์เข้าเป็นพระเจ้าโอลิมปัสเป็นพระเชษฐาของซูสและเฮ
ดีส ตำนานพื้นบ้านบางตำนานเล่าว่า เรีย พระมารดาของพระองค์ ช่วยพระองค์ไว้โดยซ่อนพระองค์ไว้กับฝูงแกะแล้วแสร้งทำเป็นว่าให้กำเนิดลูกลาออกมา เพื่อมิให้ถูกโครนัสกลืนกิน
มีเพลงสวดสรรเสริญแด่โพไซดอนของโฮเมอร์ โพไซดอนทรงเป็นผู้พิทักษ์นครเฮเลนิกหลายนคร แม้พระองค์จะแพ้การประกวดเพื่อชิงกรุงเอเธนส์แก่อะธีนา ตามอ้างอิงจากเพลโตในบทสนทนา Timaeus และ Critias เกาะแอตแลนติสเป็นพระราชอาณาเขตที่โพไซดอนทรงเลือก
วิมาน | ยอดเขาโอลิมปัส หรือทะเล |
---|---|
สัญลักษณ์ | ตรีศูล ปลา โลมา ม้า และกระทิง |
คู่ครอง | แอมฟิไทรที |
บิดามารดา | โครนัสและเรีย |
ญาติ | เฮดีส ดีมิเทอร์ เฮสเตีย ฮีรา ซูส |
บุตร | ธีซีอัส ไทรทัน, พอลิฟีมัส, บีลัส, อะจีนอร์, เนเลอุส, แอตลัส (มิใช่เทพไททันผู้แบกโลก) |
เทียบเท่าในโรมัน | เนปจูน |
3.เทพฮาเดส
เป็นพระเจ้าแห่งโลกบาดาลของกรีกโบราณ สุดท้าย
พระนามเฮดีสได้กลายมาเป็นชื่อเรียกถิ่นของผู้ตาย ในเทพปกรณัมกรีก
เฮดีสเป็นพระโอรสองค์โตของโครนัสและเรีย หากพิจารณาจากลำดับที่ประสูติจากพระชนนี หรือองค์เล็กหากพิจารณาเมื่อพระชนกขย้อนออกมา มุมมองอย่างหลังนี้มีรับรองในสุนทรพจน์ของโพไซดอนในอีเลียด ตามตำนาน พระองค์กับพระอนุชา ซูสและโพไซดอน พิชิตเทพไททันและอ้างการปกครองจักรวาล แบ่งกันปกครองโลกบาดาล อากาศและทะเลตามลำดับ ปฐพีซึ่งเป็นอาณาเขตแห่งไกอามาแต่ช้านาน เป็นของทั้งสามพร้อมกัน
ต่อมา ชาวกรีกเริ่มเรียกเฮดีสว่า พลูตอน ซึ่งชาวโรมันแผลงเป็นละตินว่า พลูโต
ชาวโรมันโยงเฮดีส/พลูโตเข้ากับพระเจ้าคะเธาะนิคของพวกตน ดิสปาเตอร์ (Dis
Pater) และออร์คัส พระเจ้าอีทรัสคันที่สอดคล้อง คือ ไอตา (Aita)
มักวาดภาพพระองค์กับหมาสามหัว เซอร์เบอรัส
ในประเพณีปรัมปราวิทยาสมัยหลัง แม้ไม่ใช่สมัยโบราณ
พระองค์สัมผัสกับหมวกเกราะแห่งความมืดและสองง่าม คำว่า เฮดีส
ในเทววิทยาคริสต์ (และพันธสัญญาใหม่ภาษากรีก) เปรียบได้กับชีโอ (sheol, שאול) ในภาษาฮีบรู ซึ่งหมายถึง ถิ่นพำนักของผู้ตาย มโนทัศน์นรกของศาสนาคริสต์คล้ายและได้รับมาจากมโนทัศน์ทาร์ทารัสของกรีก ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกและมืดมิดซึ่งเฮดิสใช้เป็นคุกลงทัณฑ์และทรมาน
วิมาน | โลกบาดาล |
---|---|
สัญลักษณ์ | เซอร์เบอรัส, ภาชนะเขาสัตว์, คทา, ไซเปรส, นาร์ซิซัส, กุญแจ |
คู่ครอง | เพอร์เซฟะนี |
บิดามารดา | โครนัสและเรีย |
ญาติ | โพไซดอน, ดิมีเทอร์, เฮสเตีย, ฮีรา, ซูส, ไครอน |
บุตร | Macaria, Melinoe and Zagreus |
เทียบเท่าในโรมัน | Dis Pater, Orcus |
4.เทพีอาเทน่า
เป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งปัญญา ความกล้า แรงบันดาลใจ อารยธรรม
กฎหมายและความยุติธรรม การสงครามโดยชอบ คณิตศาสตร์ ความแข็งแกร่ง
ยุทธศาสตร์ ศิลปะ งานฝีมือและทักษะ ภาคโรมัน คือ มิเนอร์วา
มีการพรรณนาอะธีนาว่าทรงเป็นพระสหายร่วมทางผู้เฉลียวฉลาดของวีรบุรุษและ
เทพเจ้าอุปถัมภ์การผจญภัยของวีรบุรุษ
พระนางทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์ผู้อุปถัมภ์กรุงเอเธนส์ ชาวเอเธนส์ตั้งวิหารพาร์เธนอนบนอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ (อะธีนาพาร์ธีนอส) เพื่อถวายเกียรติแด่พระนาง
กำเนิด
แม้อะธีนาปรากฏที่คนอสซัสในอักษรไลเนียร์บีในพระเจ้าโอลิมปัสคลาสสิกก่อนหน้าซูส
ภายหลังมีการสร้างใหม่ให้พระนางทรงเป็นพระธิดาองค์โปรดของซูส
ซึ่งประสูติพร้อมอาวุธเต็มยศจากพระนลาฏ (หน้าผาก)
นิยายกำเนิดของพระนางมีหลายฉบับ ฉบับหนึ่งที่มีการอ้างมากที่สุดเล่าวว่า
ซูสหลับนอนกับมีทิส เทพีแห่งความคิดและภูมิปัญญาช่าง
แต่พระองค์ทรงกลัวผลลัพธ์ในทันที
มีการทำนายก่อนหน้านั้นว่ามีทิสจะประสูติบุตรที่ทรงพลังยิ่งกว่าบิดา
แม้แต่ซูสเอง เพื่อป้องกันผลลัพธ์อันตรายนี้ หลังทรงโกหกมีทิสแล้ว ซูส
"ฆ่าพระนางในพระอุทรของพระองค์เอง" พระองค์ "ทรงกลืนพระนางไปในทันที" ทว่า
พระองค์ช้าเกินไป เพราะมีทิสตั้งครรภ์แล้ว
ในที่สุด ซูสทรงปวดพระเศียรอย่างหนัก โพรมีเทียส ฮิฟีสตัส เฮอร์มีส แอรีสหรือ
พาเลมอน (แล้วแต่แหล่งข้อมูลที่พิจารณา) ผ่าเศียรของซูสด้วยขวานไมนวนสองหัว
แล้วอะธีนาก็ทรงโจนออกจากเศียรของซูส โตเต็มที่และมีอาวุธ
นายหญิงแห่งเอเธนส์
ตามตำนานกรีกเล่าว่า ที่มาของชื่อเมืองเอเธนส์ (Athens) นั้น มาจากการที่ชาวกรีกจะตั้งชื่อเมืองแต่ไม่รู้จะใช้ชื่ออะไร โพไซดอน เทพแห่งมหาสมุทร
ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของอะธีนา ใช้ตรีศูลอาวุธของตนสร้างม้าขึ้นมา
(บ้างก็ว่าสร้างน้ำพุขึ้น) ชาวเมืองต่างพากันชื่นชมม้าเป็นอันมาก
แต่เทพีอะธีนาได้เนรมิตต้นมะกอกขึ้นมา ซึ่งสามารถใช้ผลเป็นประโยชน์ได้
นอกจากนี้ มะกอก ยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ
ในขณะที่ม้าเป็นสัญลักษณ์ของสงคราม ชาวเมืองจึงตกลงใช้ชื่อเมืองว่า เอเธนส์
ตามชื่อของพระนาง และมะกอกก็กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญอันดับหนึ่งของกรีซมาจนปัจจุบัน
อาจกล่าวได้ว่า อะธีนา เป็นเทพที่ชาวกรีกให้ความนับถือมากที่สุดก็ว่าได้ ในสมัยโบราณมีการสร้างมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระนาง คือ วิหารพาเธนอน ซึ่งตั้งอยู่ที่เนินอะโครโปลิส ที่กรุงเอเธนส์ในปัจจุบัน ในการท่องเที่ยวของกรีซ จะพบรูปปั้นขนาดเล็กของอะธีนาขายเป็นที่ระลึกอยู่ทั่วไป
วิมาน | ยอดเขาโอลิมปัส |
---|---|
สัญลักษณ์ | นกฮูก, ต้นมะกอก, งู, อีจิส, เสื้อเกราะ, หมวกเกราะ, หอก, กอร์กะเนียน |
บิดามารดา | มีทิส; มีทิสและซูส; ซูส[2] |
ญาติ | อาร์ทิมิส, แอโฟรไดที, มิวส์, แคริทีส, แอรีส, อพอลโล, ไดอะไนซัส, ฮีบี, เฮอร์มีส, เฮราคลีส, เฮเลนแห่งทรอย, ฮิฟีสตัส, ไมนอส, เพอร์ซิอัส, พอรัส |
เทียบเท่าในโรมัน | มิเนอร์วา |
5.เทพีอาร์เทมีส
เป็นหนึ่งในพระเจ้ากรีกโบราณที่มีการบูชากว้างขวางที่สุด ภาคโรมัน คือ ไดแอน นักวิชาการเชื่อว่าทั้งพระนาม รวมทั้งองค์เทพเจ้าเอง เดิมมีมาแต่ก่อนสมัยกรีก ชาวอาร์คาเดียเชื่อว่าพระนางทรงเป็นพระธิดาของดิมีเทอร์
ในเทพปกรณัมกรีกสมัยคลาสสิก มักอธิบายว่าอาร์ทิมิสทรงเป็นพระธิดาของซูสและลีโต และทรงเป็นพี่สาวฝาแฝดของอะพอลโล
พระองค์เป็นพระเจ้าแห่งการล่า สัตว์ป่า ป่าเถื่อน (wilderness) การคลอง
พรหมจรรย์และผู้พิทักษ์หญิงสาว ผู้นำพามาซึ่งและผู้บรรเทาโรคในหญิง
มักพรรณนาพระนางเป็นพรานหญิงถือธนูและลูกศร กวางและต้นไซปรัสเป็นสัตว์และพืชศักดิ์สิทธิ์ของพระนาง
วัยเด็ก
วัยเด็กของอาร์ทิมิสไม่สัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ในเรื่องปรัมปราใด ๆ ที่เหลือรอด อีเลียดลดบุคลิกของเทพเจ้าผู้น่ากลัวลงเป็นบุคลิกของเด็กหญิงซึ่งร้องไห้และปีนพระเพลา (ตัก) ของซูส หลังถูกฮีราโบย[5]
โคลงของแคลิมะคัส (Callimachus) ว่าด้วยเทพเจ้า
"ผู้ทำให้พระองค์เองสนุกบนภูเขาด้วยการยิงธนู" จินตนาการบรรณพิลาส
(vignette) ที่มีเสน่ห์บางอย่าง ตามแคลิมะคัส
อาร์ทิมิสขณะมีพระชนมายุได้สามพรรษา ทูลขอให้ซูสประทานพรพระนางหกข้อ ได้แก่
ให้พระนางครองพรหมจรรย์ตลอดกาล, ให้พระนางมีหลายนามเพื่อแยกกับพระอนุชา อะพอลโล,
ให้ทรงเป็นผู้นำมาซึ่งแสงสว่าง, ขอธนูและลูกธนู
กับฉลองพระองค์คลุมรัดเอวเสมอพระชานุ (เข่า) เพื่อที่พระนางจะได้ล่าสัตว์,
ขอ "ธิดาแห่งโอเซียเนิส"
หกสิบตน ซึ่งทุกตนอายุได้ 9 ปี เพื่อเป็นนักร้องประสานเสียงของพระนาง,
และขอนิมฟ์แอมนิซิเดส (Amnisides)
ยี่สิบตนเป็นสาวใช้คอยเฝ้าหมาและธนูของพระนางระหว่างที่ทรงพักผ่อน
พระนางไม่ประสงค์ให้มีนครใดอุทิศแด่พระนาง แต่ประสงค์ปกครองภูเขา
และความสามารถช่วยหญิงในความเจ็บปวดแห่งการคลอด
อาร์ทิมิสทรงเชื่อว่าพระนางถูกมอยเร (โชคชะตา) เลือกให้เป็นนางผดุงครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะพระนางช่วยพระชนนีคลอดพระอนุชาฝาแฝด อะพอลโล พระสหายของพระนางล้วนครองพรหมจรรย์
และอาร์ทิมิสทรงระวังพรหมจรรย์ของพระนางเองอย่างใกล้ชิด
สัญลักษณ์ของพระนางมีธนูและลูกศรสีทอง หมาล่าเนื้อ กวาง และดวงจันทร์
แคลิมะคัสเล่า
ว่าอาร์ทิมิสทรงใช้วัยเยาว์แสวงสิ่งที่พระนางจำเป็นต้องมีเพื่อเป็นพรานหญิง
อย่างไร พระนางได้ธนูและลูกศรมาจากเกาะลิพารา (Lipara) ที่ซึ่งฮิฟีสตัสและไซคลอปส์ทำงานได้อย่างไร
ธิดาของโอเซียเนิสเปี่ยมไปด้วยความกลัว แต่อาร์ทิมิสในวัยเยาว์เข้าหาอย่างกล้าหาญและขอธนูและลูกธนู แคลิมะคัสเล่าต่อว่าอาร์ทิมิสพบแพน
พระเจ้าแห่งป่าซึ่งให้หมาตัวเมียเจ็ดตัวและหมาตัวผู้หกตัว ได้อย่างไร
จากนั้น พระนางจับกวางเขาทองเพื่อลากรถเทียมของพระนาง
อาร์ทิมิสฝึกธนูโดยยิงต้นไม้ก่อนแล้วจึงยิงสัตว์ป่า
โอไรออน
อาร์ทิมิสเป็นที่สนใจของพระเจ้าและชายทั้งหลาย
แต่มีเพียงพระสหายล่าสัตว์ โอไรออน ที่พิชิตพระพฤทัยของพระนางได้
บางฉบับเล่าว่า เขาถูกอาร์ทิมิสฆ่า บ้างก็เล่าว่าเขาถูกแมงป่องที่ไกอาส่งมาฆ่า ในบางฉบับ โอไรออนพยายามล่อลวงโอพิส (Opis)ผู้ติดตามตนหนึ่งของพระนาง พระนางจึงฆ่าเขา บางฉบับของอะเรทัส (Aratus) โอไรออนฉวยฉลองพระองค์คลุมของอาร์ทิมิส และพระนางฆ่าเขาเป็นการป้องกันพระองค์
อีกฉบับหนึ่ง อะพอลโลเป็นผู้ส่งแมงป่องมา ตามฮิไจนัส (Hyginus)
อาร์ทิมิสเคยรักโอไรออน
(ฉบับนี้ดูเหมือนเป็นส่วนที่เหลือหายากของพระนางที่เป็นเทพเจ้าก่อนโอลิมปัส
ซึ่งมีคู่ครอง ดังเช่น อีออส ซึ่งขัดกับแหล่งข้อมูลภายหลัง)
แต่ถูกอะพอลโลลวงให้ฆ่าเขา ซึ่ง "ปกป้อง" พรหมจรรย์ของพระเชษฐภคินี
ลักษณะ
อาร์ทิมิสมีรูปลักษณ์เป็นหญิงสาวผมสั้น หน้าตางดงาม อยู่ในชุดล่าสัตว์ทะมัดทแมงกระโปงสั้น ชุดมักมีสีน้ำเงิน ในมือถือคันธนู
วิมาน | ยอดเขาโอลิมปัส |
---|---|
สัญลักษณ์ | ดวงจันทร์, กวาง, สุนัขล่าเนื้อ, ธนูและลูกศร |
บิดามารดา | ซูสและลีโต |
ญาติ | อะพอลโล |
เทียบเท่าในโรมัน | ไดแอนา |
6.เทพเจ้าอพอลโล

เป็นหนึ่งในพระเจ้าองค์สำคัญที่สุดในพระเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีกและศาสนากรีกโบราณ ตลอดจนเทพปกรณัมโรมันและศาสนาโรมันโบราณ
อะพอลโลทรงเป็นอุดมคติของคูรอส (kouros) คือ หนุ่มนักกีฬาไม่ไว้หนวด
และทรงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเทพเจ้าแห่งแสงและดวงอาทิตย์
สัจจะและคำพยากรณ์ การรักษา โรคระบาด ดนตรี กวี ฯลฯ
อะพอลโลทรงเป็นพระโอรสของซูสและลีโต และมีพระเชษฐภคินีฝาแฝด คือ อาร์ทิมิสซึ่งเป็นพรานหญิง
ปัจจุบัน อะพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง
โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น
เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่าง ๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น
อะพอลโลเป็นเทพเจ้าที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ที่มีชื่อว่า มหารูปแห่งโรดส์ นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอะพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์
วิมาน | ยอดเขาโอลิมปัส |
---|---|
สัญลักษณ์ | พิณโบราณ, พวงหรีดลอเรล, ไพธัน, นกเรเวน, ธนูและลูกศร |
บิดามารดา | ซูสและลีโต |
ญาติ | อาร์ทิมิส |
บุตร | แอสคลีเปียส, โทรอีลัส, แอริสเทียส, ออร์เฟียส |
เทียบเท่าในโรมัน | อะพอลโล |
7.เทพอีรอส หรือ คิวปิด
เป็นพระเจ้าแห่งความปรารถนา ความรักแบบกาม (erotic) ความดึงดูดและวิภาพ (affection) มักพรรณนาว่าพระองค์เป็นพระโอรสของเทพีวีนัส เทพีแห่งความรักของโรมัน ภาคกรีก คือ อีรอส(Eros)
แม้ว่าเอียรอสปรากฏเป็นเด็กผอมบางมีปีกในศิลปะกรีกคลาสสิก
แต่ระหว่างสมัยเฮลเลนนิสติก
มีการพรรณนาพระองค์เป็นเด็กชายเจ้าเนื้อเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้
รูปเคารพของพระองค์ได้ธนูและลูกศรซึ่งเป็นตัวแทนของบ่อเกิดอำนาจของพระองค์
เพิ่มขึ้นมา
มนุษย์หรือกระทั่งพระเจ้าที่ถูกยิงด้วยลูกศรของคิวปิดจะเปี่ยมด้วยความ
ปรารถนาซึ่งควบคุมไม่ได้ ตามตำนาน
คิวปิดเป็นตัวละครรองซึ่งดำเนินโครงเรื่องเป็นส่วนมาก
พระองค์เป็นตัวละครหลักเฉพาะในนิทานคิวปิดและไซคี
ซึ่งเมื่อต้องอาวุธของพระองค์เอง
พระองค์ก็ได้สัมผัสประสบการณ์ความรักอันเจ็บปวด
แม้ไม่มีการเล่าเรื่องยาวอื่นเกี่ยวกับคิวปิด
แต่แบบแผนประเพณีของพระองค์นั้นอุดมในแก่นเรื่องกวีและฉากเรื่องภาพ เช่น
"ความรักชนะทุกสิ่ง" และการลงโทษหรือทรมานแก้เผ็ดของคิวปิด
สัญลักษณ์ | ธนูและลูกศร |
---|---|
คู่ครอง | ไซคี |
บิดามารดา | มาร์สและวีนัส |
เทียบเท่าในกรีก | เอียรอส |
8.เพอร์เซโฟนี

เป็นพระธิดาของซูส และเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว ดีมิเทอร์
และราชินีแห่งโลกบาดาล
โฮเมอร์อธิบายว่าพระองค์เป็นราชินีแห่งโลกบาดาลผู้น่าเกรงขามและน่าเคารพ
นับถือ ผู้บันดาลให้คำสาปของมนุษย์บังเกิลผลต่อวิญญาณของผู้วายชนม์
เพอร์เซฟะนีถูกเฮดีส ราชาแห่งโลกบาดาล ลักพาตัวตำนานการลักพาของพระองค์เป็นการแสดงว่าหน้าที่ของพระองค์เป็นบุคคลวัตของพืช
พรรณซึ่งงอกในฤดูใบไม้ผลิและถอนคืนสู่พิภพหลังเก็บเกี่ยว
ฉะนั้นพระองค์จึงยังสัมพันธ์กับฤดูใบไม้ผลิและความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณ
วิมาน | โลกบาดาล |
---|---|
คู่ครอง | เฮดีส |
บิดามารดา | ซูสกับดีมิเทอร์ |
เทียบเท่าในโรมัน | โพรเซอร์พินา |
9.เฮอร์คิวลิส

ป็นชื่อโรมันของเทพเจ้ากรีก ชื่อ เฮราคลีส (Heracles) เฮอร์คิวลีส เป็นลูกของเทพซุส และ อัลค์เมนา (มนุษย์) เฮอร์คิวลีส มีภรรยาสองคน: เทพีเมการา (Megara) และ เทพีไดอะไนรา (Deianeira)
ลักษณะ
รูปเฮอร์คิวลีสในศิลปะของโรมันและเรอเนซองส์ และหลังเรอเนซองส์ที่ใช้รูปสัญลักษณ์ของโรมันจะมีสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สิงห์โตเนเมียน และ ตระบอง ในงานโมเสกเฮอร์คิวลีสจะเป็นผู้ที่มีผิวคล้ำแดดเป็นการแสดงว่าเป็นผู้สำบุกสำบันจากกิจการต่างที่ต้องทำกลางแจ้งเฮอร์คิวลีสเป็นแบบแผนที่ที่เป็นตัวอย่างของความเป็นบุรุษที่มีความแข็งแรง
ความกล้าหาญ
และมีกระหายที่รวมไปถึงความต้องการทางเพศทั้งกับสตรีและเด็กหนุ่ม
(pederasty) แต่ลักษณะดังกล่าวก็มิได้ทำให้เฮอร์คิวลีสขาดความมีความขี้เล่น
ผู้ที่มักจะเล่นเกมส์เพื่อผ่อนคลายจากงานหนักและมักชอบเล่นกับเด็ก
แม้ว่าเฮอร์คิวลีสจะเป็นนักรบผู้กล้าหาญแต่ก็ยังใช้วิธีขึ้โกงเพื่อให้คู่
ต่อสู้เพลี่ยงพล้ำ แต่ในขณะเดียวกันก็มีชื่อว่าเป็นผู้
“ทำให้โลกเป็นที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์”
โดยการสังหารสัตว์ร้ายที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
ความเสียสละของเฮอร์คิวลีสทำให้ได้รับตำแหน่งในบรรดาเทพเจ้าโอลิมเปียนและ
เป็นที่ต้อนรับโดยเทพเจ้า
ลัทธินิยมโรมัน
โรมันนำตำนานวีรบุรุษ “เฮอร์คลี” ของอีทรัสคันซึ่งมีอิทธิพลจากวัฒนธรรมกรีก “เฮอร์คลี” ปรากฏในงานศิลปะของอีทรัสคันที่งดงามเช่นภาพของเฮอร์คิวลีสดูดนมจากอกของ เทพีอูนิ/จูโน
สลักบนด้านหลังของกระจกบรอนซ์ที่สร้างราว 400
ปีก่อนคริสต์ศตวรรษที่พบที่โวลเทอรรา
งานเขียนของกรีกเกี่ยวกับเฮอร์คิวลีสมาจากงานเขียนของโรมันเริ่มตั้งแต่ราว
200 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษซึ่งมิได้เปลื่ยนแปลงจากเดิมเท่าใด
แต่โรมันมาต่อเติมรายละเอียดของตนเอง
บางเรื่องที่ขยายความก็ทำให้เฮอร์คิวลีสมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณเมดิเตอร์
เรเนียนตะวันตก
รายละเอียดของลัทธินิยมเฮอร์คิวลีสของกรีกก็นำมาแปลงเป็นของโรมันโดย
การที่เฮอร์คิวลีสกลายเป็นผู้ก่อตั้งเฮอร์คิวเลเนียม (Herculaneum) และที่อื่นๆ นอกจากนั้นลัทธินิยมเฮอร์คิวลีสก็เป็นที่นิยมของลัทธินิยมของผู้ปกครองโรม (Imperial cult) ที่เห็นได้จาก จิตรกรรมฝาผนังภาย
ในสิ่งก่อสร้างที่เฮอร์คิวเลเนียม แท่นบูชาเฮอร์คิวลีสที่พบสร้างมาตั้งแต่
600 ถึง 500 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษไม่ใกลจาก วัดเฮอร์คิวลีสเดอะวิคเตอร์
(Temple of Hercules Victor)
เฮอร์คิวลีสเป็นที่นิยมของพ่อค้าผู้มักจะอุทิศทรัพย์บางส่วนจากกำไรที่ได้
ให้
มาร์ค แอนโทนีเปรียบเทียบตนเองกับเฮอร์คิวลีสและยังขยายความว่าเฮอร์คิวลีสมีลูกชายชื่อแอนทอนซึ่งเป็นบรรพบุรุษของแอนโทนี เพื่อเป็นการโต้ตอบอ็อกเทเวียนผู้เป็นศัตรูของมาร์ค แอนโทนีจึงเปรียบตนเองว่าเป็นเทพอพอลโล
จักรพรรดิโบราณมักจะพยายามเลียนแบบลักษณะของเฮอร์คิวลีสเช่นทราจัน ต่อมาจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันโดยเฉพาะจักรพรรดิคอมโมดัส และจักรพรรดิแม็กซิเมียนที่
นอกจากจะเปรียบเทียบตนเองกับเฮอร์คิวลีสแล้วก็ยังสนับสนุนลัทธินิยมด้วย
ลัทธินิยมเฮอร์คิวลีสเผยแพร่ไปทั่วจักรวรรดิโรมัน
ในโรมันอียิปต์เชื่อกันว่าซากวัดที่พบที่โอเอซิสบาฮาริยา (Bahariya Oasis)
เป็นวัดที่สร้างสำหรับการบูชาเฮอร์คิวลีส
ตำนานเฮอร์คิวลีส
ในตำนานเทพของโรมัน อัคคา ลาเร็นเทียผู้เป็นเมียน้อยของเฮอร์คิวลีสแต่งงานกับทารูเทียสพ่อค้าฐานะดีมาก่อน เมื่อทารูเทียสเสียชีวิตลาเร็นเทียก็บริจาคทรัพย์สมบัติให้เป็นทาน อีกตำนานหนึ่งลาเร็นเทียเป็นภรรยาของฟอทุลัส
เฮอร์คิวลีสสังหารเมการาผู้ภรรยาและลูก
เพื่อจะแก้บาปที่ทำเฮอร์คิวลีสต้องทำภารกิจสิบสองอย่าง (The Twelve Labours
of Hercules)
ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากเกินกว่ามนุษย์ที่จะทำสำเร็จซึ่งเป็นผลที่ทำให้มีชื่อว่า
เป็นเทพแห่งภูเขาโอลิมเปีย
10.เพอร์ซุส
เป็นพระโอรสแห่งเทพซีอุสกับพระชายาที่เป็นมนุษย์
นามว่า "ดาเนีย" เขาเล่าว่า
ท้าวอะคริสิอัสกษัตริย์แห่งเมืองอาร์กอสผู้เป็นพระราชบิดาแห่งเจ้าหญิงดา
เนียทรงเข้ารับคำทำนายจากนักบวชวิหารเดลฟีว่า
"เจ้าจะต้องตายด้วยบุตรชายแห่งธิดาเจ้า"
หลังจากนั้นท้าวอะคริสิอัสจึงกลัวว่าพระองค์จะตายจึงป้องกันเป็นการดับไฟ
เสียแต่ต้นลมโดยการสร้างหอคอยที่สูงและขังเจ้าหญิงดาเนียไว้
เพื่อป้องกันเจ้าหญิงมีความสัมพันธ์กับชายอื่นจนตั้งครรภ์
แต่ไหนจะรอดพ้นจากคำทำนายเมื่อเทพซีอุสเกิดหลงรักเจ้าหญิงดาเนียและมาร่วม
ภิรมย์สุขสมจนเจ้าหญิงตั้งครรภ์และให้กำเนิดพระโอรส
พอท้าวอะคริสิอัสทราบเท่านั้นก็จับเจ้าหญิงดาเนียใส่หีบพร้อมพระโอรสพระองค์
น้อยลอยทิ้งลอยทะเลไป และแล้วหีบใบนี้ก็ลอยไปติดที่เกาะเซอริฟัส
และเจ้าหญิงพร้อมพระโอรสได้รับความช่วยเหลือจากหัวหน้าชาวประมงนาม
ว่า"ดิคทิส"ซึ่งเป็นพระเชษฐาแห่งกษัตริย์โพลิเดคทิส
ดิคทิสจึงตัดสินใจส่งเจ้าหญิงพร้อมพระโอรสให้ท้าวโพลิเดคทิสอุปถัมภ์
จนพระโอรสองค์น้อยเติบโตเป็นหนุ่มรูปงาม นามว่า "เพอร์ซุส"
ท้าวโพลิเดคทิสซึ่งหลงรักในเจ้าหญิงดาเนียมานานแต่มีเพอร์ซุสเป็นก้างขวางคอ
พระองค์จึงจัดการเขาโดยส่งเพอร์ซุสไปตายโดยให้เพอร์ซุสไปนำหัวเมดูซามาเป็น
ของขวัญ เพอร์ซุสก็ยอมรับภารกิจครั้งนี้
เพอร์ซุสออกเดินทางไปทางทิศตะวันตกซึ่งท้าวโพลิเดคทิสบอกว่า
"ที่อยู่ของปีศาจร้ายเมดูวาอยู่สุดขอบโลกทางทิศตะวันตก…"
เช่นนั้นเพอร์ซุสจึงต้องเดินทางไปยังทิศตะวันตกแต่ไม่ทันไรก็มีทะเลมาขว้าง
กั้น แต่สวรรค์ยังปราณีเทพซีอุสผู้เป็นบิดาสั่งพระเทวโองการให้เทพฮาเดส
เทพีอธีน่า และเทพเฮอร์เมสช่วยเพอร์ซุสในภารกิจครั้งนี้ จากนั้นเทพเจ้าทั้ง
3 พระองค์ทรงประทานของวิเศษพระองค์ละอย่างแก่เพอร์ซุส
- เทพฮาเดส ประทานหมวกนักรบที่มีขนนกเป็นพู่สวยงาม
- เทพีอธีน่า ประทานโล่
- เทพเฮอร์เมส ประทานเกือกติดปีก
เพอร์ซุสดีใจกับของวิเศษที่เทพเจ้าประทานมาให้ เพอร์ซุสจึงได้โอกาสถามเทพเจ้าว่าปีศาจเมดูซาอยู่ที่ใด เทพีอธีน่าจึงตอบว่า
"พวกเราเหล่าทวยเทพมิรู้หรอก แต่มีกลุ่มเทพีกราเอีย 3 พี่น้องเท่านั้นที่รู้ว่าปีศาจเมดูซาอยู่ที่ไหน"
"พระองค์และเทพี 3 พี่น้องกราเอียอยู่ที่ไหนล่ะพระองค์"
"เจ้าจงใช้เกือกติดปีกแห่งข้าเหาะไปยังเกาะกลางทะเลที่นั่นคือที่อยู่ของพี่น้องเทพีกราเอีย" เทพเฮอร์เมสกล่าว
"ขอให้เจ้าทำภารกิจนี้สำเร็จ" เทพฮาเดสกล่าว
เมื่อเพอร์ซุสได้คำตอบเป็นที่พอใจจึงลาและขอบคุณเทพเจ้าที่ช่วยเหลือ
เพอร์ซุสจึงเดินทางต่อไปโดยอาศัยเกือกติดปีกของเทพเฮอร์เมส
จนมาถึงเกาะที่อยู่ของ เทพีกราเอีย 3 พี่น้อง
เพอร์ซุสพบกับภาพของเทพีที่น่าสงสารที่ตาบอดทุกพระองค์
แต่มีดวงตาเพียงดวงเดียวที่แบ่งกันใช้เท่านั้น
เพอร์ซุสขโมยดวงตาแห่งเทพีกราเอียมาเพื่อหลอกถามถึงที่อยู่ของปีศาจเมดูซา
เหล่าเทพียอมบอกทางแก่เพอร์ซุสจนไปถึงเกาะอันเป็นที่อยู่แห่งปีศาจเมดูซาได้
สำเร็จ…
เพอร์ซุสมาถึงเกาะที่เต็มไปด้วยรูปแกะหินเหมือนคนจริง ในท่าทางต่างๆ
ทั้งน่ากลัว น่าสงสาร ทุกรูปล้วนเคยเป็นคนมีลมหายใจ
แต่กลับมากลายเป็นหินเพราะปีศาจเมดูซา
เปอร์ซุสเข้าไปยังปราสาทที่อยู่ของเมดูซา
และเพอร์ซุสไม่กล้ามองเมดูซาโดยตรงเพราะกลัวว่าเมื่อสบตามันแล้วจะกลายเป็น
หิน เขาจึงดูเอาจากเงาที่สะท้อนในโล่
ปรากฏว่าเขาพบกับเมดูซาและเด็ดหัวมันมาจนได้และเหาะนำหัวเมดูซากลับสู่เกาะ
เซอริฟัส
(บางตำนานว่าพอเพอร์ซุสตัดหัวเมดูซาได้นั้นก็บังเอิญสิ่งมหัศจรรย์อย่าง
หนึ่งออกมาจากคอของเมดูซา นั่นคือ ม้ามีปีก นามว่า "ปีกาซัส"
ซึ่งเขาว่าเป็นบุตรที่เมดูซาตั้งครรภ์ครั้งที่มีความสัมพันธ์กับเทพโพไซดอน
ในครั้งที่เมดูซายังเป็นนางพรายงดงามนางหนึ่งและถูกเทพีอธีน่าลงทัณฑ์โปรด
การสาปให้เป็นปีศาจร้ายอย่างที่เป็นอยู่นั่นเอง…)
แต่กลับถูกพายุพัดเข้ามาถึงอุทยานสวรรค์แห่งเทพเจ้าที่มีเทพแอตลาสที่แบก
สวรรค์ไว้เป็นผู้เฝ้า
เพอร์ซุสหวังจะพักผ่อนเพราะความเหน็ดเหนื่อยแต่กลับถูกเทพแอตลาสขับไล่
เพอร์ซุสจึงโมโหและชูหัวเมดูซาใส่เทพแอตลาส
เมื่อเทพแอตลาสสบตากับหัวเมดูซาก็กลายเป็นหินไป
ต่อมากลายเป็นภูเขาแอตลาสทางตอนเหนือทวีปแอฟริกา
ต่อมาเพอร์ซุสออกเดินทางผ่านทะเลทรายซาฮาร่าบังเอิญเลือดของเมดูซาหยดไหลตาม
ทางจึงบังเกิดเป็นงูพิษที่อาศัยในทะเลทราย
เพอร์ซุสเดินทางผ่านกรุงเอธิโอเปียอันมีท้าวเซฟฟิฟัสปกครอง
ซึ่งเขาต้องประหลาดกับเหตุการณ์ที่มีสาวงามถูกตรึงไว้กับโขดหินและมีเจ้า
สัตว์ประหลาดจากทะเลกำลังจะกินนาง
เพอร์ซุสจึงเข้าสังหารมันเพื่อช่วยหญิงสาวที่เป็นเหยื่อ
เพอร์ซุสมาทราบทีหลังว่า หญิงสาวผู้นี้คือ
เจ้าหญิงอันโดเมดร้าพระธิดาแห่งท้าวเซฟฟิฟัส
ซึ่งเพอร์ซุสยังประหลาดใจว่าทำไมเจ้าหญิงต้องมาเป็นอาหารของปีศาจร้าย
ท้าวเซฟฟิฟัสกล่าวถึงสาเหตุว่า
"พระมเหสีข้า คัสสิโอเปีย
กล่าวดูหมิ่นเกียรติแห่งเหล่านางพรายนีเรียดส์ทั้ง50นางซึ่งมี1ในนั้นคือ
เทพีอัมฟิตริตีราชินีแห่งเทพโพไซดอน
พระองค์พิโรธจึงส่งสัตว์ร้ายแห่งท้องทะเลขึ้นมาอาละวาดจับพสกนิกรของเรากิน
จนเราต้องส่งสาวพรหมจรรย์มาสังเวยมันทุกปีจนมาถึงคราวของเจ้าหญิงอันโดรเม
ดร้านี้ล่ะท่าน"
เมื่อเพอร์ซุสทราบความจริงแล้ว
ท้าวเซฟฟิฟัสพอพระทัยเพอร์ซุสที่ช่วยพระธิดาไว้จึงยกพระธิดาให้เป็นพระชายา
และแล้วเพอร์ซุสก็อภิเษกกับเจ้าหญิงอันโดรเมดร้าและพาเจ้าหญิงกลับบ้านเมือง
ของพระองค์และเพอร์ซุสได่นำหัวของเมดูซามาถวาย
พอมาถึงเกาะเซอริฟัสพบว่าพระมารดาเจ้าหญิงดาเนียหนีมาอยู่ที่บ้านของดิกทิส
เพราะถูกท้าวโพรเดคทิสลวนลาม
เพอร์ซุสคิดแก้แค้นจึงเข้าเฝ้าและมอบหัวเมดูซาแก่ท้าวโพรเดคทิสโดยชูหัวเมดู
ซาให้ เมื่อพระองค์สบตาเมดูซาพระองค์ก็กลายเป็นหินไป
จากนั้นเพอร์ซุสก็ยกเมืองนี้ให้ดิกทิสเป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป
จากนั้นเพอร์ซุสก็นำหัวเมดูซามาประดับไว้ในโล่ของเทพีอธีน่าและพระองค์ก็คือ
ของวิเศษกลับคืนสู่เทพเจ้าซึ่งเป็นเจ้าของเดิม…
จากนั้นเพอร์ซุสพาพระมารดาและเจ้าหญิงอันโดรเมดร้าล่องเรือสู่เมืองอาร์กอ
สเพื่อเยี่ยมเสด็จตาและหวังว่าเสด็จตาจะหายกลัวในคำทำนายแล้ว
พอท้าวอะคริสิอัสทราบเท่านั้นก็ได้หลบหนีไปพำนักที่เมืองลาริสซาซึ่งเจ้า
เมืองเป็นพระสหายเก่า เพอร์ซุสมาถึงก็ออกตามหาเสด็จตาจนมาถึงเมืองลาริสซา
ซึ่งในขณะนั้นมีการจัดงานกีฬา
เพอร์ซุสก็ลงแข่งขันด้วยโดยลงแข่งก๊ฬาขว้างจานเหล็ก (ควอยต์)
ซึ่งบังเอิญจริงๆเพอร์ซุสขว้างแรงไปโดยไม่ได้ตั้งใจดันไปถูกชายชราคนหนึ่ง
เสียชีวิต พอเจ้าหญิงดาเนียมาถึงก็กลายว่าชายชราที่ตายนั้นคือ
ท้าวอะคริสิคัส
ซึ่งเป็นไปตามคำทำนายเสียจริงที่พระองค์จะต้องตายด้วยน้ำมือของหลาน
ต่อมาเพอร์ซุสก็ขึ้นครองราชย์เมืองอาร์กอสแต่เกิดความไม่สบายใจเพราะเท่ากับ
ว่าตนเป็นผู้สังหารเสด็จตาเหมือนว่าแย่งบัลลังก์มา
พระองค์จึงมาสร้างเมืองใหม่คือ "ไมซีนี"
จากนั้นพระองค์กับพระราชินีอันโดรเมดร้าก็ทรงครองรักกันอย่างมีความสุข