วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ตำนานเทพเจ้ากรีก

ตำนานเทพเจ้ากรีก

 

 

      เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก และจุดกำเนิดและความสำคัญของวิถีปฏิบัติและพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่กล่าวถึงเรื่องปรัมปราและศึกษาในความพยายามที่จะอธิบายสถาบันทางศาสนาและการเมืองในกรีซโบราณ อารยธรรม และเพิ่มความเข้าใจของธรรมชาติในการสร้างตำนานขึ้น
เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธร รมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลกและรายละเอียดของชีวิต รวมทั้งการผจญภัยของบรรดาเทพ เทพี วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ได้สืบทอดโดยบทกวีจากปากต่อปากเท่านั้น ในปัจจุบัน ตำนานกรีกได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวรรณกรรมกรีกเป็นส่วนใหญ่
      
      วรรณกรรมกรีกที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกันคือ มหากาพย์ อีเลียด และ โอดิสซีย์ ของโฮเมอร์ ซึ่งจับเรื่องราวเหตุการณ์ในระหว่างสงครามเมืองทรอย นอกจากนี้มีบทกวีมหากาพย์ร่วมสมัยอีกสองชุดของเฮสิโอด คือ Theogony และ Works and Days เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดโลก การสืบทอดของจอมเทพผู้ศักดิ์สิทธิ์ ยุคของมนุษย์ กำเนิดศัตรูของมนุษย์ และพิธีบูชายัญต่างๆ เรื่องเล่าปรัมปรายังพบได้ในบทเพลงสวดสรรเสริญของโฮเมอร์ จากเสี้ยวส่วนหนึ่งของบทกวีมหากาพย์ Epic Cycle จากบทเพลง จากงานเขียนโศกนาฏกรรมในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล จากงานเขียนของปราชญ์และกวีในยุคเฮเลนนิสติก และในตำราจากยุคของจักรวรรดิโรมันที่เขียนโดยพลูตาร์คกับเพาซานิอัส
งานค้นพบของนักโบราณคดีเป็นแหล่งข้อมูลอย่างละเอียดของเทพปกรณัมกรีก เพราะมีภาพของเทพและวีรบุรุษกรีกมากมายเป็นเนื้อหาหลักอยู่ในการตกแต่งสิ่ง ของเครื่องใช้ต่างๆ ภาพเรขาคณิตบนเครื่องโถในยุคศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลแสดงให้เห็นฉากต่างๆ ในมหากาพย์เมืองทรอย รวมไปถึงการผจญภัยของเฮราคลีส ในยุคต่อๆ มาเช่น ยุคอาร์เคอิก ยุคคลาสสิก และยุคเฮเลนนิสติก ก็พบภาพฉากเกี่ยวกับมหากาพย์ของโฮเมอร์และตำนานปรัมปราอื่นๆ ซึ่งช่วยเพิ่มเติมแก่หลักฐานทางวรรณกรรมที่มีอยู่
เทพปกรณัมกรีกมีอิทธิพลอย่างมากต่อวัฒนธรรม ศิลปะ และวรรณกรรมของอารยธรรมตะวันตก รวมถึงมรดกและภาษาทางตะวันตกด้วย กวีและศิลปินมากมายนับแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบันได้รับแรงบันดาลใจจากเทพ ปกรณัมกรีก และได้คิดค้นนัยยะร่วมสมัยกับการตีความใหม่ที่สัมพันธ์กับตำนานปรัมปราเหล่า นี้


1.เทพซูส

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซุส

    ทรงเป็นพระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์ผู้ปกครองเทพเจ้าโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก
ซูสเป็นบุตรของโครนัสและเรีย และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในประเพณีส่วนมาก พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส

กำเนิดของซูส

    ตำนานการถือกำเนิดของซูสมีว่า ไกอา มารดาแห่งผืนดิน ได้สมรสกับเทพยูเรนัสเทพแห่งท้องฟ้า และมีบุตรกลุ่มแรกคือ เหล่าเทพไททันซึ่ง สร้างความภาคภูมิแก่เทพยูเรนัสมาก แต่ทว่าบุตรต่อๆมาของเทพีไกอากลับอัปลักษณ์และน่ากลัว เช่น ยักษ์ไซคลอปส์ที่มีตาข้างเดียวกลางใบหน้า และอสุรกายน่าเกลียดต่างๆ ทำให้เทพยูเรนัสพิโรธโยนบุตรเหล่านั้นลงไปขังในคุกทาร์ทะรัสใต้พิภพ
เทพีไกอาแค้นเทพยูเรนัสมากจึงยุยงให้เหล่าเทพไททันก่อกบฏ ไม่มีเทพองค์ใดที่กล้าชิงบัลลังก์พระบิดายกเว้นเทพโครนัส และจากการช่วยเหลือจากเทพีไกอาทำให้เทพโครนัสชิงอำนาจได้สำเร็จ ทว่าเทพโครนัสไม่ได้ทำตามสัญญาที่จะปลดปล่อยอสูรผู้เป็นน้อง เทพีไกอาจึงสาปแช่งว่าบุตรที่จะเกิดมาของโครนัสจะชิงอำนาจไปเหมือนกับที่เคย ทำไว้กับบิดา
เทพโครนัสตระหนักมากเพราะหลังจากนั้นไม่นาน เทพีรีอา พระชายาก็ตั้งครรภ์ เมื่อได้ข่าวการประสูติ เทพโครนัสจึงบุกเข้าไปในตำหนักพระชายาและจับทารกผู้เป็นสายเลือดของตนกลืนลง ท้องไป และครรภ์ต่อๆมาของเทพีรีอาก็เช่นกัน ส่งผลให้เทพีรีอาเศร้าเสียใจอย่างมาก
โครนัสให้กำเนิดบุตรและธิดารวมหกองค์ คือ เฮสเทีย เฮดีส ดีมิเตอร์ โพไซดอน เฮรา ซูส ซึ่งพอกำเนิดมาได้ถูกโครนัสจับกลืนลงท้องไปแต่เนื่องด้วยซูสหนีออกมาได้ จึงรอให้ตัวเองโตแล้วกลับมาช่วยอีก 5 องค์ในภายหลัง เนื่องจาก เฮสเทีย เฮดีส ดีมิเตอร์ โพไซดอน และเฮรา เป็นเทพจึงไม่ตายตอนอยู่ในท้องของโครนัส


การโค่นอำนาจไททันโครนอส

    ความคับแค้นใจทำให้เทพีรีอาตัดสินใจเก็บบุตรคนสุดท้องเอาไว้ โดยแสร้งส่งก้อนหินห่อผ้าให้เทพโครนัสไป ทารกซูสถูกเลี้ยงดูอย่างดีโดยเทพีไกอาผู้เป็นย่าได้นำทารกซูสไปซ่อนไว้ในหุบ เขาดิกเทอ ในเกาะครีต ซูสกินอาหารคือน้ำผึ้งและน้ำนมจากนิมฟ์ครึ่งแพะที่ชื่อว่า อะมาลไธอา ซึ่งในภายหลังซูสได้ได้สร้างนางให้เป็นกลุ่มดาวแพะ หรือกลุ่มดาวมกรในจักรราศีและมีครึ่งเทพครึ่งแพะแห่งป่าที่เล่นฟลุทอยู่ตลอดเวลาชื่อแพนเป็นผู้ให้การศึกษา เมื่อซูสเติบใหญ่แข็งแรงจึงหวนกลับไปแก้แค้นโครนอสผู้เป็นเทพบิดาตามคำร้องขอของเทพีมารดา
รีอาได้หลอกให้โครนอสกินยาที่จะทำให้สำรอกบุตรที่เคยกลืนออกมา ด้วยความเป็นเทพเจ้าทำให้เหล่าเทพที่ถูกกลืนลงไปไม่ตายซ้ำยังเติบโตขึ้น เรียงลำดับได้ดังนี้
1.เทพีเฮสเตีย เทพีแห่งไฟและเทพีผู้คุ้มครองครอบครัว เป็นเทพีครองพรหมจรรย์
2.เทพี ดิมีเตอร์ เทพีแห่งพันธุ์พืช ธัญญาหารและการเพาะปลูก มีธิดากับเทพซูสหนึ่งองค์คือ เทพีเพอร์ซิโฟเน หรือ โพรเซอพิน่าผู้เป็นชายาของฮาเดส
3.เทพี ฮีรา เทพีแห่งการสมรส เป็นมเหสีของเทพซูส ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องหึงหวง มีโอรสและธิดากับเทพซูส 3 องค์คือ เฮฟเฟสตุส ฮีบีกับ อาเรส
4.เทพเฮดีส เจ้าแห่งโลกบาดาล ปกครองยมโลก มีเทพีเพอร์เซฟะนีเป็นมเหสี
5.เทพโพไซดอน เจ้าแห่งท้องทะเล ปกครองน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียนและน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้ มีเทพีแอมฟิไทรท์ หรือ อัมฟิตรีติ เป็นมเหสี
เมื่อเทพทั้งห้าได้ออกมาจากท้องของโครนัสแล้วจึงร่วมกับซูสปราบโครนัสและส่งโครนัสไปขังไว้ที่ทาร์ทะรัส
ซูสได้รับตำแหน่งเทพผู้นำของเหล่าเทพ เนื่องจากการจับฉลากแบ่งหน้าที่ของทั้งสามพี่น้อง และได้พาเหล่าเทพทั้งหลายขึ้นไปอาศัยอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัส
แม้ว่าเหล่าเทพทุกองค์จะยอมยกตำแหน่งผู้นำให้กับซูสในทีแรก แต่ในตอนหลังเหล่าเทพต่างๆก็ต่างพากันหาหนทางในการยึดอำนาจมาเป็นของตน เองอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฮราผู้ เป็นชายาของซูส ได้พยายามที่จะรวบรวมเหล่าเทพเพื่อก่อการกบฏอยู่เสมอ แต่ในท้ายที่สุดซูสก็สามารถที่แก้ไขปัญหา และจับตัวนางมาลงโทษได้อยู่เสมอ


วิมาน ยอดเขาโอลิมปัส
สัญลักษณ์ สายฟ้า นกอินทรี กระทิงและโอ๊ก
คู่ครอง ฮีรา ฯลฯ
บิดามารดา โครนัสและเรีย
ญาติ เฮสเตีย เฮดีส ฮีรา โพไซดอน ดีมิเทอร์
บุตร แอรีส อะธีนา อะพอลโล อาร์ทิมิส แอโฟรไดที ไดอะไนซัส ฮีบี เฮอร์มีส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย ฮิฟีสตัส เพอร์ซิอัส ไมนอส มิวส์ คาริทีส
เทียบเท่าในโรมัน จูปิเตอร์

 2.เทพจ้าโพไซดอน

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โพ ไซ ดอน

     เป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า "สมุทรเทพ" นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า "ผู้เขย่าโลก" (Earth-Shaker) เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ "ผู้กำราบม้า" (tamer of horses)พระองค์มักทรงถูกพรรณาเป็นบุรุษสูงวัย มีพระเกษาหยิกและพระมัสสุ (หนวด)
แผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บีแสดง ว่า ที่ไพลอสและธีบส์กรีซยุคสำริดก่อนมีเทพเจ้าโอลิมปัสมีการบูชาโพไซดอนเป็นพระ เจ้าหลัก แต่ภายหลังมีการรวมพระองค์เข้าเป็นพระเจ้าโอลิมปัสเป็นพระเชษฐาของซูสและเฮ ดีส ตำนานพื้นบ้านบางตำนานเล่าว่า เรีย พระมารดาของพระองค์ ช่วยพระองค์ไว้โดยซ่อนพระองค์ไว้กับฝูงแกะแล้วแสร้งทำเป็นว่าให้กำเนิดลูกลาออกมา เพื่อมิให้ถูกโครนัสกลืนกิน
มีเพลงสวดสรรเสริญแด่โพไซดอนของโฮเมอร์ โพไซดอนทรงเป็นผู้พิทักษ์นครเฮเลนิกหลายนคร แม้พระองค์จะแพ้การประกวดเพื่อชิงกรุงเอเธนส์แก่อะธีนา ตามอ้างอิงจากเพลโตในบทสนทนา Timaeus และ Critias เกาะแอตแลนติสเป็นพระราชอาณาเขตที่โพไซดอนทรงเลือก

 

วิมาน ยอดเขาโอลิมปัส หรือทะเล
สัญลักษณ์ ตรีศูล ปลา โลมา ม้า และกระทิง
คู่ครอง แอมฟิไทรที
บิดามารดา โครนัสและเรีย
ญาติ เฮดีส ดีมิเทอร์ เฮสเตีย ฮีรา ซูส
บุตร ธีซีอัส ไทรทัน, พอลิฟีมัส, บีลัส, อะจีนอร์, เนเลอุส, แอตลัส (มิใช่เทพไททันผู้แบกโลก)
เทียบเท่าในโรมัน เนปจูน

 

3.เทพฮาเดส

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทพฮาเดส

     เป็นพระเจ้าแห่งโลกบาดาลของกรีกโบราณ สุดท้าย พระนามเฮดีสได้กลายมาเป็นชื่อเรียกถิ่นของผู้ตาย ในเทพปกรณัมกรีก เฮดีสเป็นพระโอรสองค์โตของโครนัสและเรีย หากพิจารณาจากลำดับที่ประสูติจากพระชนนี หรือองค์เล็กหากพิจารณาเมื่อพระชนกขย้อนออกมา มุมมองอย่างหลังนี้มีรับรองในสุนทรพจน์ของโพไซดอนในอีเลียด ตามตำนาน พระองค์กับพระอนุชา ซูสและโพไซดอน พิชิตเทพไททันและอ้างการปกครองจักรวาล แบ่งกันปกครองโลกบาดาล อากาศและทะเลตามลำดับ ปฐพีซึ่งเป็นอาณาเขตแห่งไกอามาแต่ช้านาน เป็นของทั้งสามพร้อมกัน
ต่อมา ชาวกรีกเริ่มเรียกเฮดีสว่า พลูตอน ซึ่งชาวโรมันแผลงเป็นละตินว่า พลูโต ชาวโรมันโยงเฮดีส/พลูโตเข้ากับพระเจ้าคะเธาะนิคของพวกตน ดิสปาเตอร์ (Dis Pater) และออร์คัส พระเจ้าอีทรัสคันที่สอดคล้อง คือ ไอตา (Aita) มักวาดภาพพระองค์กับหมาสามหัว เซอร์เบอรัส ในประเพณีปรัมปราวิทยาสมัยหลัง แม้ไม่ใช่สมัยโบราณ พระองค์สัมผัสกับหมวกเกราะแห่งความมืดและสองง่าม คำว่า เฮดีส ในเทววิทยาคริสต์ (และพันธสัญญาใหม่ภาษากรีก) เปรียบได้กับชีโอ (sheol, שאול) ในภาษาฮีบรู ซึ่งหมายถึง ถิ่นพำนักของผู้ตาย มโนทัศน์นรกของศาสนาคริสต์คล้ายและได้รับมาจากมโนทัศน์ทาร์ทารัสของกรีก ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกและมืดมิดซึ่งเฮดิสใช้เป็นคุกลงทัณฑ์และทรมาน


วิมาน โลกบาดาล
สัญลักษณ์ เซอร์เบอรัส, ภาชนะเขาสัตว์, คทา, ไซเปรส, นาร์ซิซัส, กุญแจ
คู่ครอง เพอร์เซฟะนี
บิดามารดา โครนัสและเรีย
ญาติ โพไซดอน, ดิมีเทอร์, เฮสเตีย, ฮีรา, ซูส, ไครอน
บุตร Macaria, Melinoe and Zagreus
เทียบเท่าในโรมัน Dis Pater, Orcus


 4.เทพีอาเทน่า

 

 

    เป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งปัญญา ความกล้า แรงบันดาลใจ อารยธรรม กฎหมายและความยุติธรรม การสงครามโดยชอบ คณิตศาสตร์ ความแข็งแกร่ง ยุทธศาสตร์ ศิลปะ งานฝีมือและทักษะ ภาคโรมัน คือ มิเนอร์วา
มีการพรรณนาอะธีนาว่าทรงเป็นพระสหายร่วมทางผู้เฉลียวฉลาดของวีรบุรุษและ เทพเจ้าอุปถัมภ์การผจญภัยของวีรบุรุษ พระนางทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์ผู้อุปถัมภ์กรุงเอเธนส์ ชาวเอเธนส์ตั้งวิหารพาร์เธนอนบนอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ (อะธีนาพาร์ธีนอส) เพื่อถวายเกียรติแด่พระนาง


กำเนิด

    แม้อะธีนาปรากฏที่คนอสซัสในอักษรไลเนียร์บีในพระเจ้าโอลิมปัสคลาสสิกก่อนหน้าซูส ภายหลังมีการสร้างใหม่ให้พระนางทรงเป็นพระธิดาองค์โปรดของซูส ซึ่งประสูติพร้อมอาวุธเต็มยศจากพระนลาฏ (หน้าผาก) นิยายกำเนิดของพระนางมีหลายฉบับ ฉบับหนึ่งที่มีการอ้างมากที่สุดเล่าวว่า ซูสหลับนอนกับมีทิส เทพีแห่งความคิดและภูมิปัญญาช่าง แต่พระองค์ทรงกลัวผลลัพธ์ในทันที มีการทำนายก่อนหน้านั้นว่ามีทิสจะประสูติบุตรที่ทรงพลังยิ่งกว่าบิดา แม้แต่ซูสเอง เพื่อป้องกันผลลัพธ์อันตรายนี้ หลังทรงโกหกมีทิสแล้ว ซูส "ฆ่าพระนางในพระอุทรของพระองค์เอง" พระองค์ "ทรงกลืนพระนางไปในทันที" ทว่า พระองค์ช้าเกินไป เพราะมีทิสตั้งครรภ์แล้ว
ในที่สุด ซูสทรงปวดพระเศียรอย่างหนัก โพรมีเทียส ฮิฟีสตัส เฮอร์มีส แอรีสหรือ พาเลมอน (แล้วแต่แหล่งข้อมูลที่พิจารณา) ผ่าเศียรของซูสด้วยขวานไมนวนสองหัว แล้วอะธีนาก็ทรงโจนออกจากเศียรของซูส โตเต็มที่และมีอาวุธ


นายหญิงแห่งเอเธนส์

    ตามตำนานกรีกเล่าว่า ที่มาของชื่อเมืองเอเธนส์ (Athens) นั้น มาจากการที่ชาวกรีกจะตั้งชื่อเมืองแต่ไม่รู้จะใช้ชื่ออะไร โพไซดอน เทพแห่งมหาสมุทร ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของอะธีนา ใช้ตรีศูลอาวุธของตนสร้างม้าขึ้นมา (บ้างก็ว่าสร้างน้ำพุขึ้น) ชาวเมืองต่างพากันชื่นชมม้าเป็นอันมาก แต่เทพีอะธีนาได้เนรมิตต้นมะกอกขึ้นมา ซึ่งสามารถใช้ผลเป็นประโยชน์ได้ นอกจากนี้ มะกอก ยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ในขณะที่ม้าเป็นสัญลักษณ์ของสงคราม ชาวเมืองจึงตกลงใช้ชื่อเมืองว่า เอเธนส์ ตามชื่อของพระนาง และมะกอกก็กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญอันดับหนึ่งของกรีซมาจนปัจจุบัน
อาจกล่าวได้ว่า อะธีนา เป็นเทพที่ชาวกรีกให้ความนับถือมากที่สุดก็ว่าได้ ในสมัยโบราณมีการสร้างมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระนาง คือ วิหารพาเธนอน ซึ่งตั้งอยู่ที่เนินอะโครโปลิส ที่กรุงเอเธนส์ในปัจจุบัน ในการท่องเที่ยวของกรีซ จะพบรูปปั้นขนาดเล็กของอะธีนาขายเป็นที่ระลึกอยู่ทั่วไป


วิมาน ยอดเขาโอลิมปัส
สัญลักษณ์ นกฮูก, ต้นมะกอก, งู, อีจิส, เสื้อเกราะ, หมวกเกราะ, หอก, กอร์กะเนียน
บิดามารดา มีทิส; มีทิสและซูส; ซูส[2]
ญาติ อาร์ทิมิส, แอโฟรไดที, มิวส์, แคริทีส, แอรีส, อพอลโล, ไดอะไนซัส, ฮีบี, เฮอร์มีส, เฮราคลีส, เฮเลนแห่งทรอย, ฮิฟีสตัส, ไมนอส, เพอร์ซิอัส, พอรัส
เทียบเท่าในโรมัน มิเนอร์วา



 5.เทพีอาร์เทมีส

 

 

    เป็นหนึ่งในพระเจ้ากรีกโบราณที่มีการบูชากว้างขวางที่สุด ภาคโรมัน คือ ไดแอน นักวิชาการเชื่อว่าทั้งพระนาม รวมทั้งองค์เทพเจ้าเอง เดิมมีมาแต่ก่อนสมัยกรีก ชาวอาร์คาเดียเชื่อว่าพระนางทรงเป็นพระธิดาของดิมีเทอร์
ในเทพปกรณัมกรีกสมัยคลาสสิก มักอธิบายว่าอาร์ทิมิสทรงเป็นพระธิดาของซูสและลีโต และทรงเป็นพี่สาวฝาแฝดของอะพอลโล พระองค์เป็นพระเจ้าแห่งการล่า สัตว์ป่า ป่าเถื่อน (wilderness) การคลอง พรหมจรรย์และผู้พิทักษ์หญิงสาว ผู้นำพามาซึ่งและผู้บรรเทาโรคในหญิง มักพรรณนาพระนางเป็นพรานหญิงถือธนูและลูกศร กวางและต้นไซปรัสเป็นสัตว์และพืชศักดิ์สิทธิ์ของพระนาง

วัยเด็ก

    วัยเด็กของอาร์ทิมิสไม่สัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ในเรื่องปรัมปราใด ๆ ที่เหลือรอด อีเลียดลดบุคลิกของเทพเจ้าผู้น่ากลัวลงเป็นบุคลิกของเด็กหญิงซึ่งร้องไห้และปีนพระเพลา (ตัก) ของซูส หลังถูกฮีราโบย[5] โคลงของแคลิมะคัส (Callimachus) ว่าด้วยเทพเจ้า "ผู้ทำให้พระองค์เองสนุกบนภูเขาด้วยการยิงธนู" จินตนาการบรรณพิลาส (vignette) ที่มีเสน่ห์บางอย่าง ตามแคลิมะคัส อาร์ทิมิสขณะมีพระชนมายุได้สามพรรษา ทูลขอให้ซูสประทานพรพระนางหกข้อ ได้แก่ ให้พระนางครองพรหมจรรย์ตลอดกาล, ให้พระนางมีหลายนามเพื่อแยกกับพระอนุชา อะพอลโล, ให้ทรงเป็นผู้นำมาซึ่งแสงสว่าง, ขอธนูและลูกธนู กับฉลองพระองค์คลุมรัดเอวเสมอพระชานุ (เข่า) เพื่อที่พระนางจะได้ล่าสัตว์, ขอ "ธิดาแห่งโอเซียเนิส" หกสิบตน ซึ่งทุกตนอายุได้ 9 ปี เพื่อเป็นนักร้องประสานเสียงของพระนาง, และขอนิมฟ์แอมนิซิเดส (Amnisides) ยี่สิบตนเป็นสาวใช้คอยเฝ้าหมาและธนูของพระนางระหว่างที่ทรงพักผ่อน พระนางไม่ประสงค์ให้มีนครใดอุทิศแด่พระนาง แต่ประสงค์ปกครองภูเขา และความสามารถช่วยหญิงในความเจ็บปวดแห่งการคลอด
อาร์ทิมิสทรงเชื่อว่าพระนางถูกมอยเร (โชคชะตา) เลือกให้เป็นนางผดุงครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะพระนางช่วยพระชนนีคลอดพระอนุชาฝาแฝด อะพอลโล พระสหายของพระนางล้วนครองพรหมจรรย์ และอาร์ทิมิสทรงระวังพรหมจรรย์ของพระนางเองอย่างใกล้ชิด สัญลักษณ์ของพระนางมีธนูและลูกศรสีทอง หมาล่าเนื้อ กวาง และดวงจันทร์ แคลิมะคัสเล่า ว่าอาร์ทิมิสทรงใช้วัยเยาว์แสวงสิ่งที่พระนางจำเป็นต้องมีเพื่อเป็นพรานหญิง อย่างไร พระนางได้ธนูและลูกศรมาจากเกาะลิพารา (Lipara) ที่ซึ่งฮิฟีสตัสและไซคลอปส์ทำงานได้อย่างไร
ธิดาของโอเซียเนิสเปี่ยมไปด้วยความกลัว แต่อาร์ทิมิสในวัยเยาว์เข้าหาอย่างกล้าหาญและขอธนูและลูกธนู แคลิมะคัสเล่าต่อว่าอาร์ทิมิสพบแพน พระเจ้าแห่งป่าซึ่งให้หมาตัวเมียเจ็ดตัวและหมาตัวผู้หกตัว ได้อย่างไร จากนั้น พระนางจับกวางเขาทองเพื่อลากรถเทียมของพระนาง อาร์ทิมิสฝึกธนูโดยยิงต้นไม้ก่อนแล้วจึงยิงสัตว์ป่า

 โอไรออน

     อาร์ทิมิสเป็นที่สนใจของพระเจ้าและชายทั้งหลาย แต่มีเพียงพระสหายล่าสัตว์ โอไรออน ที่พิชิตพระพฤทัยของพระนางได้ บางฉบับเล่าว่า เขาถูกอาร์ทิมิสฆ่า บ้างก็เล่าว่าเขาถูกแมงป่องที่ไกอาส่งมาฆ่า ในบางฉบับ โอไรออนพยายามล่อลวงโอพิส (Opis)ผู้ติดตามตนหนึ่งของพระนาง พระนางจึงฆ่าเขา บางฉบับของอะเรทัส (Aratus) โอไรออนฉวยฉลองพระองค์คลุมของอาร์ทิมิส และพระนางฆ่าเขาเป็นการป้องกันพระองค์
อีกฉบับหนึ่ง อะพอลโลเป็นผู้ส่งแมงป่องมา ตามฮิไจนัส (Hyginus) อาร์ทิมิสเคยรักโอไรออน (ฉบับนี้ดูเหมือนเป็นส่วนที่เหลือหายากของพระนางที่เป็นเทพเจ้าก่อนโอลิมปัส ซึ่งมีคู่ครอง ดังเช่น อีออส ซึ่งขัดกับแหล่งข้อมูลภายหลัง) แต่ถูกอะพอลโลลวงให้ฆ่าเขา ซึ่ง "ปกป้อง" พรหมจรรย์ของพระเชษฐภคินี

 ลักษณะ

   อาร์ทิมิสมีรูปลักษณ์เป็นหญิงสาวผมสั้น หน้าตางดงาม อยู่ในชุดล่าสัตว์ทะมัดทแมงกระโปงสั้น ชุดมักมีสีน้ำเงิน ในมือถือคันธนู



วิมาน ยอดเขาโอลิมปัส
สัญลักษณ์ ดวงจันทร์, กวาง, สุนัขล่าเนื้อ, ธนูและลูกศร
บิดามารดา ซูสและลีโต
ญาติ อะพอลโล
เทียบเท่าในโรมัน ไดแอนา


6.เทพเจ้าอพอลโล


 



    เป็นหนึ่งในพระเจ้าองค์สำคัญที่สุดในพระเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีกและศาสนากรีกโบราณ ตลอดจนเทพปกรณัมโรมันและศาสนาโรมันโบราณ อะพอลโลทรงเป็นอุดมคติของคูรอส (kouros) คือ หนุ่มนักกีฬาไม่ไว้หนวด และทรงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเทพเจ้าแห่งแสงและดวงอาทิตย์ สัจจะและคำพยากรณ์ การรักษา โรคระบาด ดนตรี กวี ฯลฯ อะพอลโลทรงเป็นพระโอรสของซูสและลีโต และมีพระเชษฐภคินีฝาแฝด คือ อาร์ทิมิสซึ่งเป็นพรานหญิง
ปัจจุบัน อะพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่าง ๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น
อะพอลโลเป็นเทพเจ้าที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ที่มีชื่อว่า มหารูปแห่งโรดส์ นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอะพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์


วิมาน ยอดเขาโอลิมปัส
สัญลักษณ์ พิณโบราณ, พวงหรีดลอเรล, ไพธัน, นกเรเวน, ธนูและลูกศร
บิดามารดา ซูสและลีโต
ญาติ อาร์ทิมิส
บุตร แอสคลีเปียส, โทรอีลัส, แอริสเทียส, ออร์เฟียส
เทียบเท่าในโรมัน อะพอลโล


7.เทพอีรอส หรือ คิวปิด


 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทพอีรอส

    เป็นพระเจ้าแห่งความปรารถนา ความรักแบบกาม (erotic) ความดึงดูดและวิภาพ (affection) มักพรรณนาว่าพระองค์เป็นพระโอรสของเทพีวีนัส เทพีแห่งความรักของโรมัน ภาคกรีก คือ อีรอส(Eros)
แม้ว่าเอียรอสปรากฏเป็นเด็กผอมบางมีปีกในศิลปะกรีกคลาสสิก แต่ระหว่างสมัยเฮลเลนนิสติก มีการพรรณนาพระองค์เป็นเด็กชายเจ้าเนื้อเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้ รูปเคารพของพระองค์ได้ธนูและลูกศรซึ่งเป็นตัวแทนของบ่อเกิดอำนาจของพระองค์ เพิ่มขึ้นมา มนุษย์หรือกระทั่งพระเจ้าที่ถูกยิงด้วยลูกศรของคิวปิดจะเปี่ยมด้วยความ ปรารถนาซึ่งควบคุมไม่ได้ ตามตำนาน คิวปิดเป็นตัวละครรองซึ่งดำเนินโครงเรื่องเป็นส่วนมาก พระองค์เป็นตัวละครหลักเฉพาะในนิทานคิวปิดและไซคี ซึ่งเมื่อต้องอาวุธของพระองค์เอง พระองค์ก็ได้สัมผัสประสบการณ์ความรักอันเจ็บปวด แม้ไม่มีการเล่าเรื่องยาวอื่นเกี่ยวกับคิวปิด แต่แบบแผนประเพณีของพระองค์นั้นอุดมในแก่นเรื่องกวีและฉากเรื่องภาพ เช่น "ความรักชนะทุกสิ่ง" และการลงโทษหรือทรมานแก้เผ็ดของคิวปิด

สัญลักษณ์ ธนูและลูกศร
คู่ครอง ไซคี
บิดามารดา มาร์สและวีนัส
เทียบเท่าในกรีก เอียรอส


8.เพอร์เซโฟนี

 Tieck Persephone.jpg

     เป็นพระธิดาของซูส และเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว ดีมิเทอร์ และราชินีแห่งโลกบาดาล โฮเมอร์อธิบายว่าพระองค์เป็นราชินีแห่งโลกบาดาลผู้น่าเกรงขามและน่าเคารพ นับถือ ผู้บันดาลให้คำสาปของมนุษย์บังเกิลผลต่อวิญญาณของผู้วายชนม์ เพอร์เซฟะนีถูกเฮดีส ราชาแห่งโลกบาดาล ลักพาตัวตำนานการลักพาของพระองค์เป็นการแสดงว่าหน้าที่ของพระองค์เป็นบุคคลวัตของพืช พรรณซึ่งงอกในฤดูใบไม้ผลิและถอนคืนสู่พิภพหลังเก็บเกี่ยว ฉะนั้นพระองค์จึงยังสัมพันธ์กับฤดูใบไม้ผลิและความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณ


วิมาน โลกบาดาล
คู่ครอง เฮดีส
บิดามารดา ซูสกับดีมิเทอร์
เทียบเท่าในโรมัน โพรเซอร์พินา

9.เฮอร์คิวลิส

 

 ป็นชื่อโรมันของเทพเจ้ากรีก ชื่อ เฮราคลีส (Heracles) เฮอร์คิวลีส เป็นลูกของเทพซุส และ อัลค์เมนา (มนุษย์) เฮอร์คิวลีส มีภรรยาสองคน: เทพีเมการา (Megara) และ เทพีไดอะไนรา (Deianeira)


ลักษณะ

    รูปเฮอร์คิวลีสในศิลปะของโรมันและเรอเนซองส์ และหลังเรอเนซองส์ที่ใช้รูปสัญลักษณ์ของโรมันจะมีสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สิงห์โตเนเมียน และ ตระบอง ในงานโมเสกเฮอร์คิวลีสจะเป็นผู้ที่มีผิวคล้ำแดดเป็นการแสดงว่าเป็นผู้สำบุกสำบันจากกิจการต่างที่ต้องทำกลางแจ้งเฮอร์คิวลีสเป็นแบบแผนที่ที่เป็นตัวอย่างของความเป็นบุรุษที่มีความแข็งแรง ความกล้าหาญ และมีกระหายที่รวมไปถึงความต้องการทางเพศทั้งกับสตรีและเด็กหนุ่ม (pederasty) แต่ลักษณะดังกล่าวก็มิได้ทำให้เฮอร์คิวลีสขาดความมีความขี้เล่น ผู้ที่มักจะเล่นเกมส์เพื่อผ่อนคลายจากงานหนักและมักชอบเล่นกับเด็ก แม้ว่าเฮอร์คิวลีสจะเป็นนักรบผู้กล้าหาญแต่ก็ยังใช้วิธีขึ้โกงเพื่อให้คู่ ต่อสู้เพลี่ยงพล้ำ แต่ในขณะเดียวกันก็มีชื่อว่าเป็นผู้ “ทำให้โลกเป็นที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์” โดยการสังหารสัตว์ร้ายที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ความเสียสละของเฮอร์คิวลีสทำให้ได้รับตำแหน่งในบรรดาเทพเจ้าโอลิมเปียนและ เป็นที่ต้อนรับโดยเทพเจ้า


ลัทธินิยมโรมัน

     โรมันนำตำนานวีรบุรุษ “เฮอร์คลี” ของอีทรัสคันซึ่งมีอิทธิพลจากวัฒนธรรมกรีก “เฮอร์คลี” ปรากฏในงานศิลปะของอีทรัสคันที่งดงามเช่นภาพของเฮอร์คิวลีสดูดนมจากอกของ เทพีอูนิ/จูโน สลักบนด้านหลังของกระจกบรอนซ์ที่สร้างราว 400 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษที่พบที่โวลเทอรรา งานเขียนของกรีกเกี่ยวกับเฮอร์คิวลีสมาจากงานเขียนของโรมันเริ่มตั้งแต่ราว 200 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษซึ่งมิได้เปลื่ยนแปลงจากเดิมเท่าใด แต่โรมันมาต่อเติมรายละเอียดของตนเอง บางเรื่องที่ขยายความก็ทำให้เฮอร์คิวลีสมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณเมดิเตอร์ เรเนียนตะวันตก รายละเอียดของลัทธินิยมเฮอร์คิวลีสของกรีกก็นำมาแปลงเป็นของโรมันโดย การที่เฮอร์คิวลีสกลายเป็นผู้ก่อตั้งเฮอร์คิวเลเนียม (Herculaneum) และที่อื่นๆ นอกจากนั้นลัทธินิยมเฮอร์คิวลีสก็เป็นที่นิยมของลัทธินิยมของผู้ปกครองโรม (Imperial cult) ที่เห็นได้จาก จิตรกรรมฝาผนังภาย ในสิ่งก่อสร้างที่เฮอร์คิวเลเนียม แท่นบูชาเฮอร์คิวลีสที่พบสร้างมาตั้งแต่ 600 ถึง 500 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษไม่ใกลจาก วัดเฮอร์คิวลีสเดอะวิคเตอร์ (Temple of Hercules Victor) เฮอร์คิวลีสเป็นที่นิยมของพ่อค้าผู้มักจะอุทิศทรัพย์บางส่วนจากกำไรที่ได้ ให้
มาร์ค แอนโทนีเปรียบเทียบตนเองกับเฮอร์คิวลีสและยังขยายความว่าเฮอร์คิวลีสมีลูกชายชื่อแอนทอนซึ่งเป็นบรรพบุรุษของแอนโทนี เพื่อเป็นการโต้ตอบอ็อกเทเวียนผู้เป็นศัตรูของมาร์ค แอนโทนีจึงเปรียบตนเองว่าเป็นเทพอพอลโล
จักรพรรดิโบราณมักจะพยายามเลียนแบบลักษณะของเฮอร์คิวลีสเช่นทราจัน ต่อมาจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันโดยเฉพาะจักรพรรดิคอมโมดัส และจักรพรรดิแม็กซิเมียนที่ นอกจากจะเปรียบเทียบตนเองกับเฮอร์คิวลีสแล้วก็ยังสนับสนุนลัทธินิยมด้วย ลัทธินิยมเฮอร์คิวลีสเผยแพร่ไปทั่วจักรวรรดิโรมัน ในโรมันอียิปต์เชื่อกันว่าซากวัดที่พบที่โอเอซิสบาฮาริยา (Bahariya Oasis) เป็นวัดที่สร้างสำหรับการบูชาเฮอร์คิวลีส

ตำนานเฮอร์คิวลีส

    ในตำนานเทพของโรมัน อัคคา ลาเร็นเทียผู้เป็นเมียน้อยของเฮอร์คิวลีสแต่งงานกับทารูเทียสพ่อค้าฐานะดีมาก่อน เมื่อทารูเทียสเสียชีวิตลาเร็นเทียก็บริจาคทรัพย์สมบัติให้เป็นทาน อีกตำนานหนึ่งลาเร็นเทียเป็นภรรยาของฟอทุลัส
เฮอร์คิวลีสสังหารเมการาผู้ภรรยาและลูก เพื่อจะแก้บาปที่ทำเฮอร์คิวลีสต้องทำภารกิจสิบสองอย่าง (The Twelve Labours of Hercules) ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากเกินกว่ามนุษย์ที่จะทำสำเร็จซึ่งเป็นผลที่ทำให้มีชื่อว่า เป็นเทพแห่งภูเขาโอลิมเปีย
   


10.เพอร์ซุส

       เป็นพระโอรสแห่งเทพซีอุสกับพระชายาที่เป็นมนุษย์ นามว่า "ดาเนีย" เขาเล่าว่า ท้าวอะคริสิอัสกษัตริย์แห่งเมืองอาร์กอสผู้เป็นพระราชบิดาแห่งเจ้าหญิงดา เนียทรงเข้ารับคำทำนายจากนักบวชวิหารเดลฟีว่า
  "เจ้าจะต้องตายด้วยบุตรชายแห่งธิดาเจ้า"
    หลังจากนั้นท้าวอะคริสิอัสจึงกลัวว่าพระองค์จะตายจึงป้องกันเป็นการดับไฟ เสียแต่ต้นลมโดยการสร้างหอคอยที่สูงและขังเจ้าหญิงดาเนียไว้ เพื่อป้องกันเจ้าหญิงมีความสัมพันธ์กับชายอื่นจนตั้งครรภ์ แต่ไหนจะรอดพ้นจากคำทำนายเมื่อเทพซีอุสเกิดหลงรักเจ้าหญิงดาเนียและมาร่วม ภิรมย์สุขสมจนเจ้าหญิงตั้งครรภ์และให้กำเนิดพระโอรส พอท้าวอะคริสิอัสทราบเท่านั้นก็จับเจ้าหญิงดาเนียใส่หีบพร้อมพระโอรสพระองค์ น้อยลอยทิ้งลอยทะเลไป และแล้วหีบใบนี้ก็ลอยไปติดที่เกาะเซอริฟัส และเจ้าหญิงพร้อมพระโอรสได้รับความช่วยเหลือจากหัวหน้าชาวประมงนาม ว่า"ดิคทิส"ซึ่งเป็นพระเชษฐาแห่งกษัตริย์โพลิเดคทิส ดิคทิสจึงตัดสินใจส่งเจ้าหญิงพร้อมพระโอรสให้ท้าวโพลิเดคทิสอุปถัมภ์ จนพระโอรสองค์น้อยเติบโตเป็นหนุ่มรูปงาม นามว่า "เพอร์ซุส" ท้าวโพลิเดคทิสซึ่งหลงรักในเจ้าหญิงดาเนียมานานแต่มีเพอร์ซุสเป็นก้างขวางคอ พระองค์จึงจัดการเขาโดยส่งเพอร์ซุสไปตายโดยให้เพอร์ซุสไปนำหัวเมดูซามาเป็น ของขวัญ เพอร์ซุสก็ยอมรับภารกิจครั้งนี้ 
      
         เพอร์ซุสออกเดินทางไปทางทิศตะวันตกซึ่งท้าวโพลิเดคทิสบอกว่า
   "ที่อยู่ของปีศาจร้ายเมดูวาอยู่สุดขอบโลกทางทิศตะวันตก…"
         เช่นนั้นเพอร์ซุสจึงต้องเดินทางไปยังทิศตะวันตกแต่ไม่ทันไรก็มีทะเลมาขว้าง กั้น แต่สวรรค์ยังปราณีเทพซีอุสผู้เป็นบิดาสั่งพระเทวโองการให้เทพฮาเดส เทพีอธีน่า และเทพเฮอร์เมสช่วยเพอร์ซุสในภารกิจครั้งนี้ จากนั้นเทพเจ้าทั้ง 3 พระองค์ทรงประทานของวิเศษพระองค์ละอย่างแก่เพอร์ซุส
 - เทพฮาเดส ประทานหมวกนักรบที่มีขนนกเป็นพู่สวยงาม
 - เทพีอธีน่า ประทานโล่
 - เทพเฮอร์เมส ประทานเกือกติดปีก
     เพอร์ซุสดีใจกับของวิเศษที่เทพเจ้าประทานมาให้ เพอร์ซุสจึงได้โอกาสถามเทพเจ้าว่าปีศาจเมดูซาอยู่ที่ใด เทพีอธีน่าจึงตอบว่า
    "พวกเราเหล่าทวยเทพมิรู้หรอก แต่มีกลุ่มเทพีกราเอีย 3 พี่น้องเท่านั้นที่รู้ว่าปีศาจเมดูซาอยู่ที่ไหน"
   "พระองค์และเทพี 3 พี่น้องกราเอียอยู่ที่ไหนล่ะพระองค์"
   "เจ้าจงใช้เกือกติดปีกแห่งข้าเหาะไปยังเกาะกลางทะเลที่นั่นคือที่อยู่ของพี่น้องเทพีกราเอีย" เทพเฮอร์เมสกล่าว
   "ขอให้เจ้าทำภารกิจนี้สำเร็จ" เทพฮาเดสกล่าว

       เมื่อเพอร์ซุสได้คำตอบเป็นที่พอใจจึงลาและขอบคุณเทพเจ้าที่ช่วยเหลือ เพอร์ซุสจึงเดินทางต่อไปโดยอาศัยเกือกติดปีกของเทพเฮอร์เมส จนมาถึงเกาะที่อยู่ของ เทพีกราเอีย 3 พี่น้อง เพอร์ซุสพบกับภาพของเทพีที่น่าสงสารที่ตาบอดทุกพระองค์ แต่มีดวงตาเพียงดวงเดียวที่แบ่งกันใช้เท่านั้น เพอร์ซุสขโมยดวงตาแห่งเทพีกราเอียมาเพื่อหลอกถามถึงที่อยู่ของปีศาจเมดูซา เหล่าเทพียอมบอกทางแก่เพอร์ซุสจนไปถึงเกาะอันเป็นที่อยู่แห่งปีศาจเมดูซาได้ สำเร็จ…

      เพอร์ซุสมาถึงเกาะที่เต็มไปด้วยรูปแกะหินเหมือนคนจริง ในท่าทางต่างๆ ทั้งน่ากลัว น่าสงสาร ทุกรูปล้วนเคยเป็นคนมีลมหายใจ แต่กลับมากลายเป็นหินเพราะปีศาจเมดูซา เปอร์ซุสเข้าไปยังปราสาทที่อยู่ของเมดูซา และเพอร์ซุสไม่กล้ามองเมดูซาโดยตรงเพราะกลัวว่าเมื่อสบตามันแล้วจะกลายเป็น หิน เขาจึงดูเอาจากเงาที่สะท้อนในโล่ ปรากฏว่าเขาพบกับเมดูซาและเด็ดหัวมันมาจนได้และเหาะนำหัวเมดูซากลับสู่เกาะ เซอริฟัส (บางตำนานว่าพอเพอร์ซุสตัดหัวเมดูซาได้นั้นก็บังเอิญสิ่งมหัศจรรย์อย่าง หนึ่งออกมาจากคอของเมดูซา นั่นคือ ม้ามีปีก นามว่า "ปีกาซัส" ซึ่งเขาว่าเป็นบุตรที่เมดูซาตั้งครรภ์ครั้งที่มีความสัมพันธ์กับเทพโพไซดอน ในครั้งที่เมดูซายังเป็นนางพรายงดงามนางหนึ่งและถูกเทพีอธีน่าลงทัณฑ์โปรด การสาปให้เป็นปีศาจร้ายอย่างที่เป็นอยู่นั่นเอง…) แต่กลับถูกพายุพัดเข้ามาถึงอุทยานสวรรค์แห่งเทพเจ้าที่มีเทพแอตลาสที่แบก สวรรค์ไว้เป็นผู้เฝ้า เพอร์ซุสหวังจะพักผ่อนเพราะความเหน็ดเหนื่อยแต่กลับถูกเทพแอตลาสขับไล่ เพอร์ซุสจึงโมโหและชูหัวเมดูซาใส่เทพแอตลาส เมื่อเทพแอตลาสสบตากับหัวเมดูซาก็กลายเป็นหินไป ต่อมากลายเป็นภูเขาแอตลาสทางตอนเหนือทวีปแอฟริกา ต่อมาเพอร์ซุสออกเดินทางผ่านทะเลทรายซาฮาร่าบังเอิญเลือดของเมดูซาหยดไหลตาม ทางจึงบังเกิดเป็นงูพิษที่อาศัยในทะเลทราย

      เพอร์ซุสเดินทางผ่านกรุงเอธิโอเปียอันมีท้าวเซฟฟิฟัสปกครอง ซึ่งเขาต้องประหลาดกับเหตุการณ์ที่มีสาวงามถูกตรึงไว้กับโขดหินและมีเจ้า สัตว์ประหลาดจากทะเลกำลังจะกินนาง เพอร์ซุสจึงเข้าสังหารมันเพื่อช่วยหญิงสาวที่เป็นเหยื่อ เพอร์ซุสมาทราบทีหลังว่า หญิงสาวผู้นี้คือ เจ้าหญิงอันโดเมดร้าพระธิดาแห่งท้าวเซฟฟิฟัส ซึ่งเพอร์ซุสยังประหลาดใจว่าทำไมเจ้าหญิงต้องมาเป็นอาหารของปีศาจร้าย ท้าวเซฟฟิฟัสกล่าวถึงสาเหตุว่า
  "พระมเหสีข้า คัสสิโอเปีย กล่าวดูหมิ่นเกียรติแห่งเหล่านางพรายนีเรียดส์ทั้ง50นางซึ่งมี1ในนั้นคือ เทพีอัมฟิตริตีราชินีแห่งเทพโพไซดอน พระองค์พิโรธจึงส่งสัตว์ร้ายแห่งท้องทะเลขึ้นมาอาละวาดจับพสกนิกรของเรากิน จนเราต้องส่งสาวพรหมจรรย์มาสังเวยมันทุกปีจนมาถึงคราวของเจ้าหญิงอันโดรเม ดร้านี้ล่ะท่าน"
    เมื่อเพอร์ซุสทราบความจริงแล้ว ท้าวเซฟฟิฟัสพอพระทัยเพอร์ซุสที่ช่วยพระธิดาไว้จึงยกพระธิดาให้เป็นพระชายา และแล้วเพอร์ซุสก็อภิเษกกับเจ้าหญิงอันโดรเมดร้าและพาเจ้าหญิงกลับบ้านเมือง ของพระองค์และเพอร์ซุสได่นำหัวของเมดูซามาถวาย พอมาถึงเกาะเซอริฟัสพบว่าพระมารดาเจ้าหญิงดาเนียหนีมาอยู่ที่บ้านของดิกทิส เพราะถูกท้าวโพรเดคทิสลวนลาม เพอร์ซุสคิดแก้แค้นจึงเข้าเฝ้าและมอบหัวเมดูซาแก่ท้าวโพรเดคทิสโดยชูหัวเมดู ซาให้ เมื่อพระองค์สบตาเมดูซาพระองค์ก็กลายเป็นหินไป จากนั้นเพอร์ซุสก็ยกเมืองนี้ให้ดิกทิสเป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป จากนั้นเพอร์ซุสก็นำหัวเมดูซามาประดับไว้ในโล่ของเทพีอธีน่าและพระองค์ก็คือ ของวิเศษกลับคืนสู่เทพเจ้าซึ่งเป็นเจ้าของเดิม…

   จากนั้นเพอร์ซุสพาพระมารดาและเจ้าหญิงอันโดรเมดร้าล่องเรือสู่เมืองอาร์กอ สเพื่อเยี่ยมเสด็จตาและหวังว่าเสด็จตาจะหายกลัวในคำทำนายแล้ว พอท้าวอะคริสิอัสทราบเท่านั้นก็ได้หลบหนีไปพำนักที่เมืองลาริสซาซึ่งเจ้า เมืองเป็นพระสหายเก่า เพอร์ซุสมาถึงก็ออกตามหาเสด็จตาจนมาถึงเมืองลาริสซา ซึ่งในขณะนั้นมีการจัดงานกีฬา เพอร์ซุสก็ลงแข่งขันด้วยโดยลงแข่งก๊ฬาขว้างจานเหล็ก (ควอยต์) ซึ่งบังเอิญจริงๆเพอร์ซุสขว้างแรงไปโดยไม่ได้ตั้งใจดันไปถูกชายชราคนหนึ่ง เสียชีวิต พอเจ้าหญิงดาเนียมาถึงก็กลายว่าชายชราที่ตายนั้นคือ ท้าวอะคริสิคัส ซึ่งเป็นไปตามคำทำนายเสียจริงที่พระองค์จะต้องตายด้วยน้ำมือของหลาน ต่อมาเพอร์ซุสก็ขึ้นครองราชย์เมืองอาร์กอสแต่เกิดความไม่สบายใจเพราะเท่ากับ ว่าตนเป็นผู้สังหารเสด็จตาเหมือนว่าแย่งบัลลังก์มา พระองค์จึงมาสร้างเมืองใหม่คือ "ไมซีนี" จากนั้นพระองค์กับพระราชินีอันโดรเมดร้าก็ทรงครองรักกันอย่างมีความสุข